สมบัติของธาตุในตาราง
ในบทที่นี้จะพูดถึงแนวโน้มสมบัติต่างๆ ของธาตุในตารางธาตุได้แก่ ขนาดอะตอม , พลังงานไอออไนเซชัน , จุดเดือด , จุดหลอมเหลว
1. ขนาดอะตอม
เมื่อพิจารณาแนวโน้มขนาดของอะตอมของธาตุต่างๆ ในตารางธาตุพบว่า
ธาตุในคาบเดียวกัน ขนาดของอะตอมจะลดลง เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ... ธาตุในคาบ เดียวกันจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่ในระดับเดียวกัน เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น จำนวนโปรตอนก็จะเพิ่มขึ้นทำให้ดึงดูด e- ได้ดีกว่า ดังนั้นขนาดอะตอมจึงมีขนาดเล็กกว่า
ธาตุในหมู่เดียว ขนาดของอะตอมจะลดลง เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ... จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเพิ่มขึ้น แต่จำนวนระดับพลังงานที่อิเล็กตรอนอยู่ก็เพิ่มขึ้น ซึ่งจะคล้ายเป็นฉากกั้นแรงดึงดูดระหว่างโปรตอนและเวเลนซ์อิเล็กตรอน แรงดึงดูดจึงมีค่าน้อย ทำให้ขนาดอะตอมใหญ่ขึ้นตามเลขอะตอม
การบอกขนาดของอะตอมนิยมบอกค่ารัศมีของอะตอม ซึ่งส่วนใหญ่จะจากอะตอมที่อยู่ในสภาพที่สร้างพันธะเคมี โดย
รัศมีของอะตอม = 1:2 ระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมคู่ที่สร้างพันธะกัน
หน่วยของรัศมีอะตอม คือ พิโกเมตร
2. พลังงานไอออไนเซชัน
พลังงานไอออไนเซชัน คือ พลังงานที่ใช้ในการทำให้อิเล็กตรอนหลุดออก จากอะตอมของธาตุในสภาพวะของธาตุในสภาพวะก๊าซ
แนวโน้มโดยทั่วไปของค่าพลังงานไอออไนเซชัน ลำดับที่ 1 ( IE1 )เป็นดังนี้
ธาตุในหมู่เดียวกัน ค่า IE1 จะลดลง เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้นระดับพลังงานของ เวเลนซ์อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มระยะห่างระหว่างอิเล็กตรอนกับนิวเคลียส ทำให้แรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนลดลง IE1 จึงมีค่าน้อย ( อิเล็กตรอนหลุดได้ง่าย )
ธาตุในคาบเดียวกัน ค่า IE1 จะเพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เนื่องจากขนาด ของอะตอมจะเล็กลงตามคาบ แรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนมีค่าเพิ่มขึ้น จึงต้องใช้ พลังสูงขึ้นในการดึงอิเล็กตรอน ( IE1 มีค่าเพิ่มขึ้น )
3. จุดหลอมเหลวและจุดเดือด
จุดหลอมเหลว , จุดเดือด จะมีค่าสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของแรง ยึดเหนี่ยว ภายในโมเลกุลของธาตุนั้น
ธาตุหมู่ IA , IIA และ IIIA เป็นโลหะ ( มีแรงยึดเหนี่ยวเป็นพันธะโลหะ ) จุดหลอมเหลว , จุดเดือด , จะสูงขึ้นจากซ้ายไปขวาในคาบเดียวกัน ... ขนาดอะตอมเล็กลง , เวเลนซ์อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น และแนวโน้มของจุดเดือด , จุดหลอมเหลวในหมู่เดียวกันของธาตุหมู่ IA , IIA , IIIA ลดลงจากบนลงล่าง ... ขนาดของอะตอมใหญ่ขึ้น ทำให้ความแข็งแรงของพันธะลดลง
ธาตุหมู่ VA , VIA , VIIA และ VIIIA ( มีแรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุลเป็นแรง แวนเดอร์วาลส์ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามมวลโมเลกุลและขนาดของโมเลกุล )
แนวโน้มจุดเดือดจุดหลอมเหลวของธาตุกลุ่มนี้
ในคาบเดียวกัน จุดเดือด , จุดหลอมเหลวจะลดลงจากซ้ายไปขวา ... ขนาดของโมเลกุล มีขนาดเล็กลง
ในหมู่เดียวกัน จุดเดือด , จุดหลอมเหลวจะเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง ... แรงยึดเหนี่ยวจะเพิ่มขึ้น ตามมวลโมเลกุลที่เพิ่มขึ้น ส่วนธาตุในหมู่ IV เช่น C , Si จะมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวสูง เนื่องจาก มีพันธะภายในโมเลกุลเป็นพันธะโครงร่างตาข่ายซึ่งมีความแข็งแรงสูง
ธาตุทรานสิชัน เป็นโลหะ ดังนั้นจุดเดือด , จุดหอลมเหลวจะมีค่าสูง
4. อิเล็กโตรเนกาติวิตี ( EN )
อิเล็กโตรเนกาติวิตี คือ ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนของธาตุ แนวโน้ม ของค่า EN จะเป็นดังนี้
ในหมู่เดียวกัน ค่า EN จะมีค่าลดลงจากบนลงล่าง ... การเพิ่มระดับพลังงานของอิเล็กตรอน ลดลงทำให้อิเล็กตรอนถูกดึงไปได้ง่าย
ในคาบเดียวกัน ค่า EN จะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาในคาบเดียวกัน ... ขนาดของอะตอมเล็กลง มีแรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนมาก เมื่อเกิดการสร้างพันธะแรงดึงดูดอิเล็กตรอน คู่ร่วมพันธะได้ดี
***ที่มา http://talung.pt.ac.th/ptweb/studentweb/element/Owen.htm
http://www.youtube.com/watch?v=KIYvOqN3dRA
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น