อัมพวา

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม

ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม


     ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรณ์มากมาย ทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ ซึ่งก็มีการทำอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแร่ธาตุและสารประกอบที่มีความจำเป็นในอุตสาหกรรม และได้นำหลักการทางเคมีมาใช้ในอุตสาหกรรมเหล่านี้เพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. อุตสาหกรรมแร่

แร่ (Mineral) คือสารประกอบอนินทรีย์ (Inorganic) ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีโครงสร้างและส่วนประกอบที่แน่นอน และมีสมบัติต่างๆ เฉพาะตัว

     สินแร่ คือหิน หรือแร่ประกอบหินที่มีแร่ที่มีค่าทางเศรษฐกิจปริมาณมากพอที่จะสามารถนำมาถลุง และนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือแร่จากเหมืองที่ยังไม่ได้ถลุง นั่นเอง โดยทั่วไป แร่ของโลหะมักอยู่ในรูปของออกไซด์ ซัลไฟด์ เฮไลด์ ซิลิเกต คาร์บอเนต และซัลเฟต

ประเภทของแร่ จำแนกตามประโยชน์ที่ใช้ในทางเศรษฐกิจได้ 2 ประเภทดังนี้

1. แร่ประกอบหิน (Mineral rock)


   คือ หินที่มีแร่เป็นส่วนประกอบ เช่น

   หินแกรนิต ประกอบด้วย แร่ควอร์ต เฟลด์สปา และไมกา

   หินปูน ประกอบด้วยแร่แคลไซด์ และอื่นๆ  


รูปที่ 1 หินแกรนิตและหินปูน

2. แร่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (Industrial mineral)


    คือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางอุตสาหกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

   1. แร่โลหะ (Metallic mineral) เช่น แร่เงิน ทองแดง สังกะสี เหล็ก ตะกั่ว ดีบุก ทังสเตน และอะลูมิเนียม

   2. แร่อโลหะ (Nonmetallic mineral) เช่น แร่เฟลด์สปา แกรไฟต์ ดินขาว ใยหิน ฟอสเฟต ยิบซัม รัตนชาติ ทราย และแร่เชื้อเพลิง 


 แร่ทองคำ




แร่เหล็ก





***ที่มา  ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น