อัมพวา

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ธาตุสังเคราะห์

ธาตุสังเคราะห์ คือ ธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลอง ไม่พบอยู่ตามธรรมชาติ และไม่เสถียร มีครึ่งชีวิตที่สั้น (เป็นไปได้ตั้งแต่ ไม่กี่มิลลิวินาที จนถึงหลักล้านปี ก็มี) เมื่อเทียบกับอายุของโลก ที่อะตอมของธาตุนั้น ๆ อาจเคยปรากฏขณะเกิดโลกแล้วสลายไปจนหมด

ธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นได้ชนิดแรกคือ เทคนีเชียม (technetium) โดยค้นพบว่า ไม่มีไอโซโทปใดที่เสถียร และมีครึ่งชีวิตเท่ากับ 4.2 ล้านปี จึงพบได้ยากมากบนโลกปัจจุบัน เพราะอายุของโลกนานมากกว่า 4,600 ล้านปี อย่างไรก็ตาม ไม่จัดเทคนีเชียมเป็นธาตุสังเคราะห์ที่แท้จริง เพราะปัจจุบันตรวจพบได้บ้างแม้เป็นปริมาณที่น้อยมาก เช่น ในหินอุกกาบาต และยังถือว่ามีอายุนานกว่าธาตุสังเคราะห์อื่น

ธาตุที่จัดเป็นธาตุสังเคราะห์นั้นมีอายุสั้นมาก พบเฉพาะที่เป็นผลิตผลจาก เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (nuclear reactors) หรือ เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) เท่านั้น

ธาตุสังเคราะห์ที่ค้นพบแล้วในปัจจุบัน ได้แก่

    061 โพรมีเทียม
    093 เนปจูเนียม
    094 พลูโทเนียม
    095 อเมริเซียม
    096 คูเรียม
    097 เบอร์คีเลียม
    098 แคลิฟอร์เนียม
    099 ไอน์สไตเนียม
    100 เฟอร์เมียม
    101 เมนเดลีเวียม
    102 โนเบเลียม
    103 ลอเรนเซียม
    104 รัทเทอร์ฟอร์เดียม
    105 ดุบเนียม
    106 ซีบอร์เกียม
    107 โบห์เรียม
    108 ฮัสเซียม
    109 ไมต์เนอเรียม
    110 ดาร์มสตัดเทียม
    111 เรินต์เกเนียม

ชื่อที่สงวนไว้สำหรับธาตุสังเคราะห์ที่ค้นพบใหม่ ได้แก่

    112 อูนอูนเบียม (Ununbium)
    113 อูนอูนเทรียม (Ununtrium)
    114 อูนอูนควอเดียม (Ununquadium)
    115 อูนอูนเพนเทียม (Ununpentium)
    116 อูนอูนเฮกเซียม (Ununhexium)
    117 อูนอูนเซปเทียม (Ununseptium) (ยังไม่ค้นพบ)
    118 อูนอูนออกเทียม (Ununoctium) (ปัจจุบันมีการสังเคราะห์แล้วเพียง 3 อะตอม )









***ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น