อัมพวา

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ดีบุก


               ดีบุก (อังกฤษ: Tin) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 50 และสัญลักษณ์คือ Sn (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stannum)


สมบัติของดีบุก


1.ดีบุกเป็นโลหะที่ไม่ดี
2. หลอมเหลวได้ง่าย
3. ทนต่อการกัดกร่อน
4. ถูกอ๊อกซิไดซ์ในอากาศได้ดี

พบในโลหะผสมหลายชนิด ใช้ประโยชน์ในการเคลือบโลหะเพื่อป้องกันการกันกร่อน ดีบุกส่วนใหญ่สกัดได้จากแร่แคสสิเตอร์ไรต์ (cassiterite) SnO2



แหล่งแร่ดีบุกจะพบได้ทั่วไปในบริเวณด้านตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่เหนือจรดใต้ และจัดเป็นส่วนหนึ่ง ของแนวแร่ดีบุกในเอเซียอาคเนย์ ซึ่งเริ่มจากทางตอนเหนือของพม่า ผ่านไทยและมาเลเซียออกไปจนถึงอินโดนีเซีย สำหรับพื้นที่ศักยภาพทางแร่ดีบุกของประเทศไทย สามารถสรุปได้เป็น 3 บริเวณใหญ่ๆ ดังนี้

1) บริเวณด้านตะวันตกทางตอนเหนือของประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อเนื่องลงมาจนถึงอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

2) บริเวณด้านตะวันตกทางตอนกลางของประเทศโดยเริ่มตั้งแต่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ต่อเนื่องลงมาจนถึงอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

3) บริเวณภาคใต้ของประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่จังหวัดชุมพร จนถึงใต้สุดของประเทศ รวมทั้งบริเวณนอกชายฝั่งทะเลอันดามัน

ลักษณะทั่วไป
การถลุงแร่ดีบุก
วิธีการถลุง นำเอาแร่แคสซิเทอไรต์(SnO2) ผสมกับถ่านโค๊ก และดินปูน

ในอัตราส่วน 20:4:5 โดยมวลใส่ในเตาเผาแบบนอน ถ่านโค้กจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน

กลายเป็นคาร์บอนมอนอกไซด์

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นดังนี้


C(s) + O2 (g) --------> CO2(g)

CO2(g) + O2 ----------> (g) 2CO(g)

2CO (g) + SnO2 -----------> Sn (l) + 2CO2(g)



ในสินแร่ดีบุกมักจะมี SiO2 เจือปน หินปูน จะกำจัดกากแร่ SiO2 ออกไป ในรูปตะกรัน แคลเซียมซิลิเกต CaSiO3(s)

(จึงต้องใส่หินปูนลงในเตาด้วย )



CaCO3(s) ---> CaO(s) + CO2(g)

CaO (s) + SiO2 (s) ---> CaSiO3(s)



ดีบุกที่ได้จากการถลุงยังมีสิ่งเจือปนอยู่ จึงต้องทำให้บริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง



ประโยชน์ของดีบุก


1. ทำโลหะผสม เคลือบโลหะเพื่อบรรจุอาหาร

2. ทำโลหะพิวเตอร์

3. ทำชิ้นส่วนเครื่องบิน

4. สารประกอบของดีบุกใช้ใน การผลิตแก้วเนื้อทึบ เครื่องเคลือบ สิ่งทอ พลาสติก สีทาบ้าน

5.ผสมกับเซอร์โคเนียม เพื่อใช้ทำภาชนะบรรจุเชื้อพลิงในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู

 ***ที่มา  http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem3/Sn.htm

   

3 ความคิดเห็น: